ຂ້ມູນຈາກ http://www.oknation.net/blog/area/2013/01/29/entry-1
ความเป็นไปในความเปลี่ยนแปลง
แทบหยุดหายใจ ไม่ใช่เพราะเหนื่อยหรอกครับ แต่ที่อยู่ตรงหน้ามันชวนให้รู้สึกอย่างนั้น ม่านเมฆ ขุนเขา ทอดตัวยาวสุดสายตา งดงามจับใจ
(บ้านกิ่วม่วง เมืองหงสา แขวงไซยะบุรี)
วันนี้เราออกเดินทางกันแต่เช้าครับ เพราะที่เราจะไปคือสวนปอสากลางหุบเขาเมืองหงสา แขวงไซยะบุรี ซึ่งเส้นทางที่ไปนั้นต้องเป็นรถโฟร์วีลเท่านั้นครับ ยังดีตอนที่เราไปฝนไม่ตก เพราะถ้าฝนตกก็หมดสิทธิ์ที่จะขึ้นไปถึง เช้าๆยามนี้ ยอดเขายังปกคลุมไปด้วยหมอกครับ ระหว่างนั่งรถขึ้นไปก็ได้ชื่นชม และสัมผัสไอหมอกยามเช้า เป็นบรรยากาศที่ชวนหลงไหลยิ่ง
ใช้เวลานั่งรถจากตีนเขาขึ้นไปราว 20 นาที ก็ถึงจุดหมายบ้านกิ่วม่วง หมู่บ้านชาวเขาที่ปลูกปอสา ที่นี่เราผมได้พบกับลุงจันทา เจ้าของสวนปอสาที่ปลูกอยู่กลางหุบเขา ลุงจันทาพาพวกเราเดินลัดเลาะลงไป เป็นเส้นทางเล็กๆ ทอดตัวไปยังหุบเขาเบื้องล่าง
(ทางขึ้นไปยังบ้านกิ่วม่วง เมืองหงสา)
(หุบเขาแหล่งปลูกปอสา บ้านกิ่วม่วง เมืองหงสา)
โครงการไตรภาคี ระหว่างเยอรมัน ไทย และสปป.ลาว เป็นการเข้าไปส่งเสริมการปลูกปอสาในสปป.ลาว เอาองค์ความรู้ด้านเรื่องปอสาทั้งการจัดการวัตถุดิบ และขั้นการแปรรูปเป็นสินค้าเข้าไปถ่ายทอดให้กับคนลาว ฝ่ายเยอรมันดำเนินการโดย GIZ ซึ่งเป็นองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน ประจำประเทศไทย ฝ่ายไทยโดยสำนักงานความร่วมมือเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ
แต่ไม่ว่าจะเป็นที่ลาว หรือ ที่ประเทศไทยเราเอง คนที่เหนื่อยที่สุดแต่กลับได้ผลตอบแทนกลับมาน้อยที่สุดก็ยังคงป็นตัวเกษตรกรเอง
(สัมภาษณ์เจ้าหน้าที่ผู้ทำโคงการไตรภาคี)
(บ้านกิ่วม่วง บ้านชาวเขาผู้ปลูกปอสา)
สำหรับคนที่ยังไม่รู้ ปอสาคือวัตถุดิบที่นำมาทำกระดาษสานั่นเอง โรงงานทำกระดาษสาในประเทศไทยนำเข้าวัตถุดิบกว่า 95 เปอร์เซ็น จากประเทศลาว ซึ่งที่ลาวเองยังไม่มีโรงงานผลิตที่นั่น ทำให้ต้องส่งออกวัตถุดิบมายังประเทศไทย จริงๆ ก็มีประเทศจีนที่เป็นอีกเจ้าหนึ่งที่เข้ามารับซื้อปอสา แต่ขณะนี้คนลาวเองยังพอใจ และยังอยากทำธุรกิจกับคนไทยอยู่ เหตุผลหลักๆ ก็เพราะเราพูดจากันรู้เรื่องนั่นเอง
เราใช้เวลาอยู่ที่บ้านกิ่วม่วงราวสองชั่วโมง ขาลงไปยังหุบเขานี่สบายๆ แต่ขาขึ้นนี่ทำเอาขาลากได้เหมือนกัน เพราะต้องแบกอุปกรณ์หลายอย่าง แต่เหตผลหลักน่าจะเรื่องความฟิต (ฮ่าๆ) เพราะชายวัยเกือบ 70 อย่างลุงจันทายังเดินอย่างสบายๆ หายใจคล่องๆ ส่วนผมลมแทบจับ
(ข้าพเจ้าเองครับ)
สำหรับอนาคตเกษตรกรสวนปอสาของลุงจันทาจะเป็นอย่างไร ก็ยังไม่มีคำตอบ เหมือนกับที่ทางลาวขอขึ้นราคาส่งปอสากับทางโรงงานของไทย ซึ่งฝ่ายไทยเองก็ไม่มีปัญหา แต่เมื่อถามว่าเงินที่เพิ่มนั้นจะไปตกที่ใคร เกษตรกรอย่างลุงจันทาจะได้ประโยชน์หรือไม่ ก็ยังไม่มีคำตอบเช่นกัน
ดูเหมือนที่ลาวชาวบ้านจะไม่มีปากเสียงเลย หากภาครัฐว่าอย่างไร ก็ต้องว่ากันตามนั้น จะมานั่งวิพากษ์วิจารณ์ หรือจะประท้วงอะไรนั้นทำไม่ได้ หรือ ไม่มีใครกล้าจะทำ
(โรงไฟฟ้าถ่านหินหงสา)
อย่างโครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินหงสา ขนาด 1868 เมกะวัตต์ ซึ่งต้องใช้พื้นที่การก่อสร้างขนาดใหญ่ ต้องก่อสร้างทั้งตัวโรงไฟฟ้า โรงหล่อเย็น และเขื่อน เป้าหมายก็เพื่อขายไฟฟ้ากลับไปให้ทางการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย 90 เปอร์เซ็น อีก 10 เปอร์เซ็น เอาไว้ใช้ในลาว และสำหรับเมืองหงสาเองมีความต้องการการใช้ไฟฟ้าเพียง 10 เมกะวัตต์เท่านั้น แต่โครงการใหญ่ขนาดนี้ก็สามารถมาตั้งที่นี่ได้อย่างสะดวก
ผลจากการที่ต้องใช้พื้นที่สำหรับการก่อสร้างโรงไฟฟ้า ทำให้ต้องย้ายบ้านของชาวบ้านกว่า 300 หลังคาเรือน ซึ่งส่วนใหญ่ก็เป็นชาวเขา โดยทางโครงการไปทำเป็นหมู่บ้านแห่งใหม่ สร้างบ้านหลังใหม่ให้ ซึ่งก็ดูเป็นความรับผิดชอบดี แต่จากที่ผมได้ไปเห็นสภาพของหมู่บ้านแล้ว มันช่างแห้งแล้ง และไร้ชีวิตชีวาเหลือเกิน คนตัวเล็กๆ ต้องเป็นฝ่ายเสียสละอย่างจำยอมอีกตามเคย
(เส้นทางมุ่งหน้าไปยังหมู่บ้านที่ถูกย้ายออกจากพื้นที่สร้างโรงไฟฟ้า)
Anonymous wrote:ຂອບໃຈຫຼາຍໆເດີຄົນລາວ2007 ທີ່ສະລະເວລາອັນມີຄ່າໂພສຮູບທໍາມະຊາດງາມໆມາໃຫ້ເບິ່ງແລະພິມຄໍາເວົ້າແຫຼມໆມາໃຫ້ອ່ານ, ອ່ານແລ້ວກໍ່ຮູ້ສຶກເສົ້າໃຈທີ່ຮູ້ວ່າຄົນເມືອງຫົງສາຂາດສິດທິໃນການປາກເວົ້າແລະຮ້ອງທຸກ. ການສ້າງໂຮງງານໄຟຟ້າຫົງສາລິກໄນ ນອກຈາກຈະບໍ່ໄດ້ສ້າງປະໂຫຍດຫຍັງໃຫ້ແກ່ປະຊາຊົນໃນເມືອງນີ້ແລ້ວ ຍັງເປັນການທໍາຮ້າຍສຸຂະພາບຂອງເຂົາເຈົ້າອີກດ້ວຍ. ມັນແມ່ນຄວາມເຫັນແກ່ຕົວຂອງຜູ່ນໍາລາວແລະນັກລົງທຶນໄທ, ຂ້ອຍເວົ້າໄດ້ແຕ່ເທົ່ານີ້ລະ !
ຂອບໃຈຫຼາຍໆເດີຄົນລາວ2007 ທີ່ສະລະເວລາອັນມີຄ່າໂພສຮູບທໍາມະຊາດງາມໆມາໃຫ້ເບິ່ງແລະພິມຄໍາເວົ້າແຫຼມໆມາໃຫ້ອ່ານ, ອ່ານແລ້ວກໍ່ຮູ້ສຶກເສົ້າໃຈທີ່ຮູ້ວ່າຄົນເມືອງຫົງສາຂາດສິດທິໃນການປາກເວົ້າແລະຮ້ອງທຸກ. ການສ້າງໂຮງງານໄຟຟ້າຫົງສາລິກໄນ ນອກຈາກຈະບໍ່ໄດ້ສ້າງປະໂຫຍດຫຍັງໃຫ້ແກ່ປະຊາຊົນໃນເມືອງນີ້ແລ້ວ ຍັງເປັນການທໍາຮ້າຍສຸຂະພາບຂອງເຂົາເຈົ້າອີກດ້ວຍ. ມັນແມ່ນຄວາມເຫັນແກ່ຕົວຂອງຜູ່ນໍາລາວແລະນັກລົງທຶນໄທ, ຂ້ອຍເວົ້າໄດ້ແຕ່ເທົ່ານີ້ລະ !
ບໍເປັນຫຍັງ ນ່າເສຍດາຍເນາະ
ເມືອງດັ່ງກ່າວຈະມີບັນຫາທາງສະພາບອາກາດຫລັງຈາກໂຮງງານນີ້ເລີ້ມໃຊ້ງານ
ແນວໃດກໍຕາມ ຂອ້ຍກໍຫວັງວ່ານີ້້ເປັນໂຮງງານທຳອິດແລະກໍເປັນໂຮງງານສຸດທ້າຍທີ່ອານຸຍາດສ້າງໃນລາວ
ບໍເປັນຫຍັງ ນ່າເສຍດາຍເນາະເມືອງດັ່ງກ່າວຈະມີບັນຫາທາງສະພາບອາກາດຫລັງຈາກໂຮງງານນີ້ເລີ້ມໃຊ້ງານແນວໃດກໍຕາມ ຂອ້ຍກໍຫວັງວ່ານີ້້ເປັນໂຮງງານທຳອິດແລະກໍເປັນໂຮງງານສຸດທ້າຍທີ່ອານຸຍາດສ້າງໃນລາວ
ຍ້ອນເຫດຜົນທາງດ້ານສຸຂະພາບຂອງປະຊາຊົນຫັ້ນລະ ບໍຣິສັດບ້ານພູຈຶ່ງມາເຮັດຢູ່ປະເທດລາວ
ເພາະຄ່າປິ່ນປົວແພງຫຼາຍແລະຍາວນານອີກດ້ວຍ.