กลุ่มต้านรัฐประหาร โห่ไล่รถทหาร ออกจากบริเวณใต้บีทีเอสอโศก #nna pic.twitter.com/aF5TVYXWhk
Anti-coup protest at Terminal 21 - Bangkok - 01/06/14 - photo via @mod_red pic.twitter.com/m0XQig9Y70
ພາບຈາກtwitter users
Not your typical shopping day. RT @Byakuren29: บรรยากาศน่าไป shopping ตายหล่ะ!!! Wanna go shopping in #Bangkok? pic.twitter.com/1lhwJSuKJA
Retweeted by RedThroughOutTheLand
RT @NhokPichaya: ทหารเข้าควบคุมพื้นที่ แต่ผู้ชุมนุมไม่ยอมกลับ #เดลินิวส์ pic.twitter.com/EZlglmca5Q
Anti coup protesters show up at Terminal 21 shopping mall via @Pat_ThaiPBS (12:50) pic.twitter.com/OsbGq3sMPy"
ເປັນການຕໍ່ສູ້ແບບສັນຕິວິທີທີ່ສຸດຍອດ ທະຫານມີປືນໃນມືກໍ່ບໍ່ສາມາດເຮັດຫຍັງໄດ້ ການຕໍ່ສູ້ແບບນີ້ເປັນການຍົວະໃຫ້ອາລົມທະຫານໂມໂຫ ເວລາໃດທີ່ພວກທະຫານສູ້ປະຊາຊົນບໍ່ໄດ້ ພວກມັນກໍ່ຈະຍິງຢ່າງດຽວ
ຍົກສາມນີ້ວມັນໝາຍຄວາມວ່າແນວໃດໃຜຮູ້ບອກແດ່?
โดย...โพสต์ทูเดย์ออนไลน์
ชู 3 นิ้ว “ชี้-กลาง-นาง” กลายเป็นสัญลักษณ์ใหม่ในการแสดงออกเพื่อต่อต้านรัฐประหาร
สัญลักษณ์นี้คืออะไร แล้วทำไมต้องชู 3 นิ้ว?
ว่ากันว่าการชู 3 นิ้ว เป็นกระแสที่ไหลบ่ามาจากภาพยนตร์ระดับแชมป์บ็อกซ์ออฟฟิศอย่าง “The Hunger Games”
ภาพยนตร์เรื่องดังกล่าว ฉายภาพการปกครองแบบเผด็จการปลุกสร้างความกลัวจนประชาชนไม่กล้าแม้แต่จะคิดแข็งขืนหรือต่อต้าน
เรื่องราวย่อๆ คือคณะผู้ปกครองได้แบ่งอาณาจักรออกเป็น 12 เขตการปกครอง และยังได้ลดทอนคุณค่าชีวิตมนุษย์ย่นย่อให้เหลือเป็นเพียงความบันเทิงช่วง สั้นๆ ด้วยการสั่งให้แต่ละเขตส่งตัวแทน ชาย-หญิง มาร่วมเกม โดยมีการถ่ายทอดสดให้ทุกคนร่วมชม
กติกาง่ายๆ คือ “ฆ่า” กันให้หมด ... ใครรอดคือผู้ชนะ
ทว่า เรื่องราวระหว่างบรรทัดผลักให้นางเอกสามารถคว้าชัยในเกมมรณะนี้ หนำซ้ำเธอยังช่วยให้ชายคนรักซึ่งเป็นตัวแทนของเขตเดียวกันรอดความตายด้วย
นับเป็นการ “ขบถต่อกฎ” ที่จับต้องได้จริง นับเป็นการปลุกให้พลังเงียบซึ่งถูกกดทับด้วยอำนาจกล้าคิด-กล้าพอที่จะยืนหยัดลุกขึ้นสู้
ช่วงหนึ่งในเกมการแข่งขั้น นางเอกได้ชูสัญลักษณ์ 3 นิ้ว ขึ้น ส่งต่อไปยังชาวเมืองอื่นๆ ที่กำลังรับชมอยู่ ซ่อนนัย “กระด้างกระเดื่อง” ต่ออำนาจที่บีบคั้น
ที่สุดแล้วเกิดพฤติกรรมเลียนแบบขึ้นและขยายออกเป็นวงกว้าง ผู้ปกครองจึงต้อง “ฆ่า” ทุกผู้ทุกคนที่ชู 3 นิ้ว
นั่นเป็นเรื่องของภาพยนตร์
ทว่า อีกความหมายที่ซ่อนเร้นในสัญลักษณ์การชู 3 นิ้ว มาจากประวัติศาสตร์การ “ปฏิวัติฝรั่งเศส” ค.ศ.1789-1799
เป็นการเปลี่ยนผ่านสังคม “ระบอบเก่า” จากยุคที่ทุกอย่างถูกผูกขาดโดยเจ้าขุนมูลนาย-อภิสิทธิ์ชน สู่ยุคที่คำขวัญว่า “เสรีภาพ-เสมอภาค-ภราดรภาพ” ถูกบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญฝรั่งเศสปี 2489 และ 2501
เสรีภาพ คือการเน้นในเสรีภาพของบุคคลหรือปัจเจกชนนิยม และได้ขยายไปในเรื่องเสรีภาพในด้านความคิด ความเชื่อทางศาสนา การศึกษาหาความรู้ การพิมพ์และเผยแพร่ข่าวสาร รวมทั้งเสรีภาพในทางการเมือง
เสมอภาค คือความเท่าเทียมกันตามกฎหมายของปัจเจกชน ความเสมอภาคขึ้นอยู่กับหลักความเที่ยงธรรม ความเท่าเทียมกันในเรื่องสิทธิและหน้าที่ เช่น ความเท่าเทียมในด้านการเสียภาษี การรับใช้ชาติโดยการเป็นทหาร และสิทธิในการออกเสียงเลือกตั้ง
ภราดรภาพ คือความเป็นพี่เป็นน้องกัน มนุษย์ทุกคนจะต้องมีความเท่าเทียมกันและปฏิบัติต่อกันดุจพี่น้อง ความเป็นพี่เป็นน้อง เป็นสิ่งที่ธรรมชาติมอบให้มนุษย์ คือ การไม่เน้นผิวพรรณ หรือ เผ่าพันธุ์
นั่นเป็นเรื่องของประวัติศาสตร์
อย่างไรก็ดี สำหรับประเทศไทยในขณะที่กลุ่มการเมือง 2 ฝากฝั่งชุมนุมกัน
เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ อาจารย์คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งมีจุดยืนต่อต้านความรุนแรงและเรียกร้องให้เดินหน้าสู่การเลือกตั้งโดย เร็ว ได้เชิญชวนให้ผู้ที่เห็นด้วยแสดงสัญลักษณ์ชู 3 นิ้วเช่นกัน แต่เป็นนิ้วโป้ง-ชี้-กลาง
“นี่เป็นสัญลักษณ์ของขั้วที่ 3 คือเราเป็นแค่นิ้วโป้ง ที่ดูนิ้วชี้กับนิ้วกลางทะเลาะกันอยู่” อาจารย์รายนี้เคยกล่าวไว้ ก่อนเกิดรัฐประหาร
http://thaienews.blogspot.it/2014/06/1-2557.html
Anonymous wrote:ຍົກສາມນີ້ວມັນໝາຍຄວາມວ່າແນວໃດໃຜຮູ້ບອກແດ່?